15 / 10 / 2024
Santa Cruz – Full Suspension สุดล้ำ จนยากที่ใครจะตามทัน

ใครที่เคยปั่นเสือภูเขาประเภท Full Suspension ในยุคแรกๆ แล้วพบว่าข้อด้อยของ Full Sus ในยุคนั้น คือ เมื่อยืนโยกขึ้นเนิน หรือ แม้แต่นั่งกดบันไดหนักๆ จะพบว่ามีการยวบ (Pedal Bobs) ย้วย โคลงเคลง เพราะในสมัยนั้นระบบ Full Suspension ยังไม่ได้พัฒนาไปไกลมากเหมือนเช่นทุกวันนี้ ทั้งโช้คหน้า (Fork) และ โช้คหลัง (Shock) ยังปรับอะไรไม่ได้มาก ไม่มีทั้ง Rebound และ Compression ส่วนจุดหมุนรองรับแรงสะเทือนก็ยังเป็นจุดเดียว จึงไม่แปลกที่จะมีอาการ ยวบ ย้วย เกิดขึ้นในบางสถานการณ์

แต่ก็ดีกว่าการใช้ตะเกียบ (Rigid Fork) ไปปั่นในทาง Trial ทางป่าธรรมชาติ ที่มี หลุม รากไม้ หินลอย ฯลฯ ซึ่งควบคุมได้ยาก และเมื่อปั่นจบจะรู้สึกเหนื่อยล้า ปวดเมื่อยร่างกาย

ทุกวันนี้ระบบ Full Suspension พัฒนาไปไกลมาก ผู้ผลิตได้แก้ปัญหา คิดค้นระบบ Full-Sus ใหม่ๆ ขึ้นมาแก้ปัญหาเก่าๆ และยิ่งไปกว่านั้น คือ คิดค้นระบบควบคุม/รองรับซับแรงกระเทือนขึ้นมาใหม่

Santa Cruz ได้คิดค้นระบบการสะเทือน VPP™ และ Superlight™ ขึ้นมาใหม่ โดยมีคุณสมบัติสุดล้ำและเหนือกว่าใคร ด้วยเทคโนโลยี Anti-Rise และ Anti-Squat ที่จะชดเชยการสะเทือนจากการเด้งขึ้น-ลงของจักรยานเมื่อผ่านอุปสรรคต่างๆ เช่น รากไม้ ก้อนหิน ร่องน้ำ และปรับลดการสูญเสียความเร็วจากการ Bobbing ในอุปสรรคนั้นๆ รวมถึงจากแรงของผู้ปั่นเองในขณะที่กดลงบันได เพื่อทำให้จักรยานนิ่งขึ้น ควบคุมง่ายขึ้น และไม่สูญเสียความเร็ว

VPP (Virtual Pivot Point (VPP™) Suspension

VPP เป็นชุดควบคุมการสะเทือนติดตั้งที่ตัวเฟรม (Full Suspension Rear Shock) แต่จะทำงานร่วมกับโช้คหน้า (Fork) ให้รวมเป็นหนึ่ง คือ ในกรณีที่ปั่นผ่านอุปสรรค ขอนไม้ ก้อนหิน ฯลฯ ขณะที่โช้คหน้ายุบตัว (ระยะ/ค่า SAG ลดลง) จะทำให้ Anti-Rise/Anti-Squat ของ VPP ชดเชยการยุบของโช้คหน้าตามไปด้วย (ตามอัตราส่วนที่แปรผันตาม Ratio: ของ Sag ต่อ VPP)

เพื่อทำให้จักรยานอยู่ในระนาบเดียวกันให้ได้มากที่สุด เช่น ที่ระยะ Sag 0% = VPP 89%, Sag 25% = VPP 76%, Sag 50% = VPP 61%, Sag 75% = VPP 41% ด้วยการชดเชยนี้ จะทำให้ผู้ปั่นนั่งอยู่ระนาบเดียวกันตลอด โดยเปลี่ยนแปลงน้อยถึงน้อยที่สุด ทำให้ผู้ปั่นไม่โคลงเคลง ขึ้นๆ ลงๆ จนเสียการทรงตัวและเสียการควบคุมจักรยานไปนั่นเอง

Santa Cruz Hightower, VPP

The Superlight™-est Suspension

สำหรับ Superlight™ นั้นจะต่างกับ VPP ตรงที่ Superlight™ ออกแบบมาสำหรับเสือภูเขาประเภท XC  เช่น SantaCruz รุ่น Blur เน้นทำความเร็วในทาง Single Track ไม่เหมาะกับทาง Trial / Enduro หรือ สนาม MTB โหดๆ (VPP ออกแบบมาเพื่อสิ่งนี้) ดังนั้น Superlight™ จึงให้ความสำคัญกับน้ำหนัก เน้นเบา ด้วยการลดชิ้นส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป เช่น ข้อต่อต่างๆ ชุดลูกปืน เพื่อเน้นประสิทธิภาพและความเร็วแบบเน้นๆ ให้แน่ใจว่าพลังงานทุกวัตต์ของนักปั่น จะถูกแปลงเป็นแรงขับเคลื่อนไปข้างหน้า

แต่ถึงยังไง Superlight™ ก็ยังเน้นคุณสมบัติ Anti-Squat โดยมีการชดเชยอัตราส่วน (Ratio) มากขึ้นจากระยะ Sag ของโช้คที่ยุบตัวลงไป (มากกว่า Ratio ของ VPP) ซึ่งไม่เพียงช่วยลดการสูญเสียแรงของผู้ขี่และความเร็ว แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในช่วงที่ใช้พลัง/เร่งความเร็วอย่างหนักหน่วง ในขณะขี่ขึ้นทางชันหรือเนินเขา เพื่อให้เสียแรงน้อยที่สุด

Flip Chip ปรับนิดองศาเปลี่ยน .. ทำง่ายๆ แค่ 3 นาที

Flip Chip คือ กลไกที่ใช้ในการปรับแต่งองศา (Geometry) ของเสือภูเขาหลายๆ รุ่น เพื่อปรับให้เหมาะสมกับรูปแบบของการปั่น เพื่อให้เสือภูเขาคันนั้น เหมาะสมกับเส้นทาง สไตล์การขี่ และขนาดของล้อที่ใช้ (27.5” (650b) / 29”)

ในระบบ VPP ยังมีอีกหนึ่งคุณสมบัติที่ซ่อนอยู่ นั่นคือ “Flip Chip” นักปั่นสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ Hi หรือ Low (มี Mid เพิ่มขึ้นมาในรุ่น V10) วิธีการก็ง่ายๆ เพียงแค่สลับแกนข้อต่อ VPP (แกนล้อในบางรุ่น) ซึ่งจะมีผลทำให้องศาเปลี่ยนไปดังนี้

รุ่น MegaTower (ค่าโดยประมาณ)
1. Head Tube (ชันขึ้น/ลดลง 0.333 องศา)
2.
BB High ความสูงจากกึ่งกลางกะโหลก ถึงพื้น (Hi-สูงขึ้น / Lo-ลดลง) 3 mm.
3. BB Drop ความยาวของกิ่งกลางกะโหลกถึงกึ่งกลางล้อหลัง (Lo – มากขึ้น / Hi- น้อยลง)

ถ้าปรับเป็น Hi ก็จะเพิ่มความสูงของกะโหลกถึงพื้น ซึ่งจะทำให้ข้ามสิ่งกีดขวางได้ดีขึ้นอีดนิด และเมื่อระยะ BB Drop ลดลง ก็จะทำให้ควบคุมได้ง่ายขึ้นอีกหน่อย

ชมวิธีการและรายละเอียดของ Flip Chip เพิ่มเติมโดยกดลิงค์ที่ภาพ
https://www.youtube.com/watch?v=rI9BI0bSbw8

Carbon C & CC

Santa Cruz หนึ่งในบริษัทแรกๆ ที่ผลิตเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์สำหรับเสือภูเขา มีโรงงานเป็นของตัวเองใน แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีการพัฒนา คิดค้น ควบคุมคุณภาพ และทดสอบคุณสมบัติใหม่ๆ ของคาร์บอนไฟเบอร์อย่างต่อเนื่อง เคยทดสอบเฟรมสุดโหด ถึงขนาดกล้าท้าพิสูจน์ความแข็งแกร่งของเฟรมระหว่างคาร์บอนไฟเบอร์กับเฟรมอลูมินั่ม ซึ่งผลก็คือคาร์บอนไฟเบอร์ที่คิดค้นขึ้นใหม่ ให้ความแข็งแกร่งมากกว่าในหลายการทดสอบ

ในอุตสาหกรรมจักรยาน เป็นเรื่องยากมากสำหรับการตั้งโรงงานผลิตขึ้นมาเอง ส่วนใหญ่จึงจ้างให้โรงงานอื่นผลิตให้ แต่ Santa Cruz สิ่งสำคัญ คือ คุณภาพต้องมาก่อน ตามมาคือ กระบวนการจัดการ จึงทำให้ปรับปรุงพัฒนา เฟรมและชิ้นส่วนอื่นๆ เช่น แฮนด์ และ ล้อ Reserve ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหมายความว่าลูกค้าทุกคนจะได้จักรยานและชิ้นส่วนที่ดีที่สุดไปใช้

Santa Cruz มีเฟรมให้เลือกทั้ง “C และ CC” ซึ่งใช้กระบวนการผลิตเดียวกัน โดยที่ CC ใช้คาร์บอนเกรดสูงสุด ส่วน C ใช้วัสดุคาร์บอนเกรดรองลงมานิดและมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหน่อย (ประมาณ 200-300 กรัม)

นี่คือสิ่งที่ Santa Cruz ทุ่มเทการออกแบบและพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขอยู่ตลอด และลงสนามจริงนับครั้งไม่ถ้วน เพื่อให้ได้ความสมบูรณ์แบบ รวมถึงความทนทาน สำหรับลูกค้า

blog-s